ป.โท IT จุฬา – IT in Business

December 14, 2008

มีคนถามว่าถ้าจะเรียนต่อโททางด้านไอทีควรจะเรียนที่ไหนดี ไอทีที่จุฬาดีหรือเปล่า? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า หลักสูตร IT ของจุฬาไม่เหมือนที่อื่น ชื่อเต็มๆ คือ Information Technology in Business (เทคโนโลยีสารสนเืทศทางธุรกิจ) มีคำว่า in Business ต่อท้ายด้วย ฉะนั้น เนื้อหาหลักสูตรจะไม่ใช่ IT จ๋า เหมือนของที่อื่น แต่จะเน้นทางธุรกิจด้วย หมายความว่า เป็นลูกผสมระหว่างเรียน ไอที กับบริหารธุรกิจ ถ้าใครคิดว่าจะเรียนไอทีแบบเน้นๆ เหมือน software engineer, computer network, advanced programming หรืออะไรเทือกๆ นี้ก็คงต้องดูที่อื่นแล้วล่ะ แล้ว IT Chula เรียนอะไรกันล่ะเนี่ย???

หลักสูตรปริญญาโทเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ แบ่งย่อยออกเป็นสามสาขานะครับ

  • Accounting Information System : AIS ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
  • Management Information System : MIS ระบบสารสนเทศทางการจัดการ
  • Statistic Information System : SIT ระบบสารสนเทศทางสถิติ

อย่างที่บอกไปแหละครับ เรียนไอทีผสมบริหารธุรกิจ ถ้าดูจากรายวิชาที่เรียน เทอมแรกๆ จะเรียนวิชาที่เป็นไอทีซะมากกว่า (เช่น IT, วิเคราะห์ระบบ, ออกแบบระบบ, Database, MIS เป็นต้น) เทอมหลังๆ จะเป็นวิชาบริหาร (Marketing, บัญชี, Finance เป็นต้น) บวกกับวิชาเฉพาะของแต่ละสาขา  ทั้งสามสาขา จะมีวิชาที่เรียนด้วยกันทุกเทอม เทอมแรกเรียนด้วยกันทุกวิชา เทอมต่อมาเหลือสอง เทอมต่อมาก็แล้วแต่จะเลือก ส่วนใครจะเลือกเรียนสาขาอะไร AIS, MIS, SIT ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน โดยปกติจำนวนเด็ก MIS จะเยอะสุด แต่ทั้งหมดนี้สอบเข้ามาด้วยวิธีการเดียวกันทั้งหมด เพียงแค่จะแบ่งสัดส่วนจำนวนที่รับในแต่ละสาขาไว้ตายตัวไปเลย

หลักสูตรนี้มีทั้งภาคปกติ และภาคค่ำ (เค้าเรียกกันหรูๆ ว่า IT Executive) มาดูความแตกต่างกัน

  • ภาคปกติจะเรียนเหมือนเด็ก ป.ตรี คือเรียนวันธรรมดา จันทร์-ศุกร์ แต่อาจจะไม่ได้มีเรียนทุกวัน แล้วแต่ตารางเรียน บางเทอมก็เรียนแค่สองวันก็มี ส่วนภาค exec เรียนตอนเย็น 6 โมงถึง 3 ทุ่ม จันทร์-ศุกร์ แล้วก็เสาร์ทั้งวัน วันอาทิตย์ว่าง
  • ภาคปกติค่าเทอมประมาณสองหมื่น (รู้สึกจะขึ้นทุกสองปี ล่าสุดเนี่ย 21,000 มั๊ง) ส่วนภาค exec ค่าเทอมเท่ากัน แต่มีค่าธรรมเนียมอีก 45,000 ฉะนั้นรวมแล้วก็ประมาณ 65,000+ ต่อเทอม แต่เสียแพงกว่าก็ต้องมีสิทธิพิเศษกว่า เช่น จะมีข้าวกล่องให้ทุกเย็น มีชากาแฟ ส่วน text ที่ใช้เรียนทั้งหมดก็มีให้ทุกวิชา รวมถึงเอกสารอื่นๆ ด้วย มีคน xerox ให้หมด สบายโครต (ภาคปกติต้องซื้อเอง เทอมนึงก็หมดไปหลายพันเหมือนกัน)
  • กิจกรรม ภาคปกติมักจะโดนเกณฑ์ไปทำนั่นทำนี่ ช่วยงานหลักสูตร จัดงาน นิทรรศการ ฯลฯ อะไรก็ว่ากันไป เพราะว่ามีเวลา (หรือเห็นว่าว่างก็ไม่รู้) ส่วนภาค exec แค่เวลามาเรียนให้ทัน 6 โมงก็หนักหนาแล้ว อาจารย์ก็คงไม่ให้ทำอะไรซักเท่าไหร่ แต่อาจจะไ้้ด้ไปเปิดหูเปิดตาบ่อยกว่าภาคปกติมั๊ง…นะ

ใครจะเรียนภาคไหนก็ต้องดูกำลังทรัพย์และกำลังกายของตัวเอง ว่าจะไหวหรือเปล่า แต่ถ้าตัวผมเอง ย้อนเวลาได้คงเลือกเรียนภาค exec มากกว่า หนักหน่อย แต่ก็มีเงินใช้ 555 ออ…อีกอย่างภาค exec ต้องมีประสบการณ์ทำงาน 3 ปีอย่างน้อยเค้าถึงจะรับ รายละเอียดการรับสมัครหรืออื่นๆ ก็เข้าไปดูที่เว็บของหลักสูตรไอทีละกัน (เพราะไม่นานหลังจากนี้ จะมีการปรับหลักสูตรใหม่ อาจมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่)

แต่ถ้าเป็นเรื่องสอบเข้า ไม่ว่าจะภาคไหนหรือสาขาไหน ก็ต้องผ่านมาด้วยวิธีการเดียวกันทั้งหมด ตอนเข้ามานึกว่ายากแล้ว เรียนไปๆ ยิ่งยากกว่า ยากสุดๆ ก็ตอนจะจบเนี่ยแหละ ตามสถิติที่ผ่านมา คนที่จบสองปีได้ มีน้อยมาก อย่างมากก็ประมาณ 10% ที่เหลือก็จะจบ 2.5 ปี หรือ 3 ปีมั่ง เอาเป็นว่าก่อนจะสมัครมาเรียน ขอให้ศึกษาให้ดีว่านี่คือสิ่งที่เราอย่างเรียนจริงๆ หรือเปล่า เพราะถ้ามาผิดทาง ขอบอกว่าอาจจะเหนื่อยมากถึงมากที่สุด จนกระทั่งถึงตายได้ (เวอร์ไปปะ) โดยเฉพาะรุ่นหลังๆ มาเรียนปรับพื้นฐานยังไม่จบก็หายตัวไปแล้ว บางคนเรียนมาเป็นเทอมค่อยหายไปก็ยังมี บางคนบอกไม่ไช่แนว บางคนบอกยากเกินไป…ก็ว่ากันไป นานาิจิตตัง

เรื่องน่ารู้ก่อนเข้ามาเสี่ยง

  • ต้องสอบ CU-TEP ให้ผ่านเกณฑ์ (ปกติกำหนดไว้ครึ่งนึง คือ 60/120) ถึงจะยื่นใบสมัครได้
  • ต้องสอบ CU-BEST ให้ัได้เยอะที่สุด ถึงจะมีโอกาสมาก รู้สึกจะไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำ แต่ถ้าจะให้ดีไม่ควรต่ำกว่าครึ่ง 250/500
  • ถ้าคุณสมบัติเบื้องต้นผ่าน ก็อาจจะมีรายชื่อโผล่ในประกาศผล ให้มาสอบ “พื้นฐานคอมพิวเตอร์” ต่อไป
  • ถ้ามั่วเก่งจนสอบพื้นฐานคอมฯ ผ่าน ก็อาจจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
  • ถ้าหน้าตาดี อิอิ ไม่ไช่สิ ถ้าโหงวเฮ้งดี ก็คงผ่านสัมภาษณ์และมีสิทธิ์เรียนปรับพื้นฐาน
  • ถ้ายังไม่ท้อก่อน จนเรียนปรับพื้นฐานจบ และสอบผ่านทุกวิชา ก็จะได้เ็ป็น “นิสิตไอทีจุฬา” เต็มตัว
  • สำหรับคนเลือกทำ master project จะต้องยื่น proposal ให้ผ่าน แล้วก็เริ่มพัฒนาระบบได้
  • พอพัฒนาระบบเสร็จ ก็สอบ project ถ้าผ่านแล้ว ก็มีสิทธิ์ลุ้นว่าจะจบแน่
  • สุดท้ายสำหรับคนเลือกทำ master project คือต้องสอบ comprehensive ให้ผ่าน ถ้าผ่านก็จบ รอรับปริญญาได้เลย แต่ถ้าไม่ผ่าน 2 รอบก็ bye bye โดน retire อย่างเดียว
  • สำหรับคนทำ thesis ดีที่ไม่ต้องสอบ comprehensive แต่ต้องไปสาธิตต่อ public แทน ง่ะ…ยากกว่าเดิมปะเนี่ย

9 Responses to “ป.โท IT จุฬา – IT in Business”

  1. สน Says:

    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ

    พอดีสนใจอยากจะเรียนโท ทางด้านนี้อยู่พอดี แต่ไม่มีความรู้ด้านคอมเลย หลังจากอ่านบทความแล้ว รู้สึกท้อยังงัยไม่รู้ ไม่รู้ว่าจะสอบผ่านเกณท์เปล่า หรือ ถ้าโชคดีสอบผ่านจะเรียนจบไหมหน่อ พอดีเป็นคนเรียนเก่งซะด้วย (555+)

  2. ammii Says:

    สวัสดีคะเจ้าของบล็อก ^^ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ ตอนนี้กำลังจะสมัครโปรแกรมนี้พอดีนะคะ แล้วตอนนี้ได้ผลคะแนน CU-BEST 251 เอง มันจะเฉียดไปไหมคะ หรือว่าควรจะสอบใหม่ดีคะ??

  3. oat Says:

    เรื่องการแบ่งสัดส่วนของเด็กแต่ละแขนง ไม่เป็นความจริง เพราะว่า SIT กับ AIS รุ่นเราน้อยมากๆ จะรับคนที่มีคุณสมบัติเท่านั้นอันนี้ถามอาจารย์มาแล้ว ถ้าคุณผ่านคุณสมบัติก็จะมีโอกาสได้เรียนแน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นแขนงอะไรก็ตาม เพราะว่ารุ่นเราก็ไม่ถึง 60 คนนะ

  4. vkmb9pk Says:

    อยากเรียนจังเลยค่ะ แต่พอมาอ่านก็ท้อเลยแฮะ อาจไม่เหมาะกับที่นี่อะ

  5. chadonney Says:

    ส่วนใหญ่เวลาไปทำจริงๆ มักจะง่ายกว่าฟังเขาเล่านะคะ อย่าเพิ่งท้อนะ หาข้อมูลเยอะๆ

  6. chadonney Says:

    ขอบคุณเจ้าของ blog มากๆนะคะ ได้แนวทางมาเยอะเลยว่าจะเจออะไรถ้าไปเรียน เขียนเรื่องยากๆให้เข้าใจง่ายได้ด้วย เก่งดีค่ะ

  7. phumipat Says:

    โอ้ว!!! มันช่างยิ่งใหญ่อลังการ กว่าจะเรียนจบได้น๊ะเนียะ แต่ก็สนใจสาขานี้อยุ่นะครับ ก็จะเตรียมตัวให้ได้มากที่สุดครับ


  8. กำลังเตรียมตัวที่จะเรียนสาขานี้อยู่ค่ะ ขอบคุณเจ้าของ blog มากๆนะค่ะ ที่ให้แนวทางที่เข้าใจง่ายดี
    แต่มีเรื่องอยากจะรู้รายละเอียดวิชาก่อนปรับพื้นฐานนี้ต้องเรียนอะไรบ้าง

  9. Ning Says:

    หนูกำลังจะจบ ศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษค่ะ ซึ่งไม่มีพื้นฐานด้านIT มาก อย่างเขียนโปรแกรม แต่หนูสนใจ MIS พอจะไหวไหมคะ กลัวว่าต้องมีพื้นฐานมาตั้งแต่ป.ตรี


Leave a reply to สน Cancel reply